วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ขอแสดงความเสียใจและขอให้กำลังใจกับชาวฟิลิปปินส์

พิษพายุไห่เยี่ยนถล่มฟิลิปปินส์ ขาดอาหาร-ศพเกลื่อนเมือง



ฟิลิปปินส์
PHILIPPE LOPEZ / AFP

ฟิลิปปินส์
PHILIPPE LOPEZ / AFP

ฟิลิปปินส์
PHILIPPE LOPEZ / AFP
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก PHILIPPE LOPEZ / AFP, NOEL CELIS / AFP

          พิษซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน กระทบประชาชน 9.7 ล้าน พื้นที่ประสบภัยเต็มไปด้วยซากปรักหักพังและศพผู้เคราะห์ร้าย ประชาชนเริ่มเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร-น้ำดื่ม ขณะที่ระบบสุขอนามัยก็ใช้การไม่ได้ หวั่นเกิดโรคระบาด

          เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 สำนักข่าวเอพี รายงานสถานการณ์ในฟิลิปปินส์หลังถูกไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนถล่มอย่างน่าสะเทือนใจ โดยระบุว่า ตอนนี้พื้นที่ประสบภัยเต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ศพถูกทิ้งให้บวมเน่าส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วพื้นที่ ประชาชนผู้รอดชีวิตเริ่มขาดแคลนอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภค ขณะที่ทั่วโลกก็กำลังพยายามเข้าให้ความช่วยเหลือ

          รายงานระบุว่า ซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่พัดเข้าถล่มฟิลิปปินส์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 9.7 ล้านคน ใน 41 จังหวัดทั่วประเทศ โดยตอนนี้ ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยต้องเอาผ้ามาปิดจมูกตัวเองตลอดเวลา เพราะศพผู้เสียชีวิตที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ตามถนน ซากปรักหักพังของบ้านเรือน สะพาน หรือบริเวณชายฝั่ง ยังคงไม่ได้รับการเก็บกู้ และเริ่มบวมเน่า ส่งกลิ่นเหม็นไปไกล ขณะที่ทางครอบครัวผู้เสียชีวิตบางราย ก็พยายามฝังศพผู้เสียชีวิตด้วยตนเองในช่วงที่เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทั่วถึง

          และสิ่งที่กลายเป็นปัญหาหลักในตอนนี้ นอกเหนือจากบ้านเรือนที่พังราบเป็นหน้ากลอง และศพผู้เคราะห์ร้ายแล้ว ผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตก็เริ่มที่จะขาดแคลนอาหาร เครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ซึ่งนั่นทำให้เกิดการเข้าปล้นร้านขายของในพื้นที่ประสบภัย ขณะที่ชายคนหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณท่าเรือเมืองทาโคลบัน ก็ได้พ่นสีเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่บนพื้นว่า "Help. SOS. We need food," ซึ่งภาพของเขาขณะที่กำลังพ่นข้อความดังกล่าว ได้กลายเป็นภาพที่สะเทือนใจคนทั่วโลกในขณะนี้

          จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ประสบภัยของสำนักข่าวบีบีซี หญิงรายหนึ่งได้เปิดเผยกับนักข่าวทั้งน้ำตาว่า ตอนนี้พวกเธอหิวโหยอาหารและกระหายน้ำมาก และตัวเธอเองก็ต้องนอนข้างถนน เพราะบ้านของเธอนั้นถูกไต้ฝุ่นถล่มพังยับเยิน

          เช่นเดียวกับ อริกา แม การากต ผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตอีกราย ที่ได้เปิดเผยกับนักข่าวบีบีซีว่า ตอนนี้ผู้ประสบภัยต้องการน้ำดื่มและยา เพราะมีผู้ประสบภัยจำนวนมากที่ได้รับบาดเจ็บ บางคนก็ท้องเสีย และบางคนก็เริ่มมีภาวะขาดน้ำแล้ว

          นอกจากนี้ สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วงในสถานการณ์เช่นนี้ คือ ในช่วงที่ระบบสุขอนามัยใช้การไม่ได้ และแหล่งน้ำถูกปนเปื้อน อาจทำให้เกิดโรคระบาดในพื้นที่ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องควบคุมอัตราการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับน้อยที่สุด และต้องให้วัคซีนป้องกันโรคกับประชาชนด้วย

          อย่างไรก็ดี ตอนนี้ทางการฟิลิปปินส์ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหาร และจากหน่วยงานอื่น ๆ เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว โดยจัดส่งอาหารและน้ำดื่มให้ในเบื้องต้น ขณะที่ทีมเจ้าหน้าที่จากองค์การสหประชาชาติ และหน่วยงานนานาชาติต่าง ๆ ก็เริ่มเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยบ้างแล้วตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และกำลังพยายามเข้าถึงผู้ประสบภัยทุกหนแห่งอย่างสุดความสามารถ

ฟิลิปปินส์
PHILIPPE LOPEZ / AFP

ฟิลิปปินส์
PHILIPPE LOPEZ / AFP

ฟิลิปปินส์
PHILIPPE LOPEZ / AFP

ฟิลิปปินส์
PHILIPPE LOPEZ / AFP

ฟิลิปปินส์
NOEL CELIS / AFP

ฟิลิปปินส์
NOEL CELIS / AFP

ฟิลิปปินส์
NOEL CELIS / AFP

ฟิลิปปินส์
TED ALJIBE / AFP

ฟิลิปปินส์
TED ALJIBE / AFP

ฟิลิปปินส์
TED ALJIBE / AFP

ฟิลิปปินส์
Praveen Agrawal / WORLD FOOD PROGRAMME / AFP


TED ALJIBE / AFP

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น